::webinar วันอังคารที่ 19 ก.ย. เรื่อง รู้จักและรับมือกับอาการ Premenstrual Syndrome ::วิชาการสัปดาห์เภสัชกรรม "We care for everyone เราห่วงใยทุกคน" วันพุธที่ 20 และ วันพุธ27 ก.ย  เปิดการอบรมต่อเนื่องโครงการ "การบริหารจัดการ" ทุกวันเสาร-อาทิตย์ เริ่ม เสาร์ที่ 16 กันยายน :CPA e-Learning 2566 คลิ๊กhttps://healthacademy.in.th/cpa*:: พิเศษ โครงการสินเชื่อบ้าน  Life Begins with GHB*

ข้อจำกัดและแนวโน้มการประยุกต์ใช้ Telehealthกับการให้บริการสุขภาพในร้านยา& One airway One disease: Allergic Rhinitis and Asthma Management
ข้อจำกัดและแนวโน้มการประยุกต์ใช้ Telehealthกับการให้บริการสุขภาพในร้านยา& One airway One disease: Allergic Rhinitis and Asthma Management
รหัสกิจกรรม 2002-2-000-014-06-2566
สถานที่จัดการประชุม ห้อง Function six ชั้น 6 โรงแรมสยามแอทสยาม     View location Map
วันที่จัดการประชุม 25 มิถุนายน 2566
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรชุมชน (ร้านยา) สมาชิกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)จำนวน 120 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.75 หน่วยกิต
อัตราค่าลงทะเบียน
หลักการและเหตุผล
ในยุคสมัยที่ร้านยากำลังเผชิญหน้ากับ Digital disruption ทำให้รูปแบบการให้บริการด้านเภสัชกรรม มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งการมี Telepharmacy หรือรูปแบบการบันทึกเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ผ่านระบบ แพลตฟอร์ม ดิจิทัล ตาไว ซึ่งมีสมาชิกเภสัชกรชุมชนร้านยาเข้าร่วม และให้ความร่วมมือในการรายงานเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้ว่าการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในร้านยา จึงเป็นการส่งเสริมกิจกรรมการให้บริการในร้านยาเป็นอย่างมาก

สมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย) ร่วมกับ แพลตฟอร์มดิจิทัล ตาไวและบริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จึงได้ร่วมกันจัดงานเสวนาและประชุมวิชาการ การให้บริการร้านยาแห่งโลกอนาคต ซึ่งเป็นการนำเสนอความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสุขภาพ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในร้านยาได้

นอกจากนี้ยังเป็นการนำเสนอกรณีศึกษา การรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่พบเจอในร้านยา ที่รายงานโดยเภสัชกรชุมชน และส่งเสริมความรู้ให้กับสมาชิกเภสัชกรชุมชนตาไว ในด้านการเฝ้าระวังผลค้างเคียง ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชนในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ และจัดประชุมวิชาการ One airway One disease: Allergic Rhinitis and Asthma Management
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมศักยภาพร้านยาให้ก้าวทันเทคโนโลยี ในโลกแห่ง digital disrubtion
2. เพื่อเสริมศักยภาพการให้บริการของเภสัชกรชุมชนในร้านยาให้มีความพร้อมในการนำเทคโนโลยี หรือ
แพลตฟอร์ม ดิจิทัล มาประยุกต์ใช้ในการให้บริการในร้านยา
3. เพื่อให้เภสัชกรให้ความรู้เรื่อง Asthma ผ่านระบบการให้บริการทางเภสัชกรรมทางไกลอย่างถูกต้อง
ตามหลักวิชาการ
คำสำคัญ
Telepharmacy, การให้คำปรึกษา,เภสัชกรชุมชน,Digital disruption, Asthma